ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น นำเข้าสินค้าประเภทที่เป็นสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ มักจะเป็นปัญหาอยู่เสมอ หากผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้าไม่ได้ศึกษามาก่อนว่าจะต้องทำเรื่องขออนุญาตนำเข้าจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงจะดำเนินการตามพิธีการศุลกากรและนำของออกจากด่านศุลกากรได้
Step ควรรู้เบื้องต้นในการดำเนินการเกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุอันตราย
- ตรวจสอบในเบื้องต้น เพื่อให้รู้ว่าของที่นำเข้ามาเข้าข่ายจะต้องขออนุญาตหรือไม่ นำมาใช้ในกิจการประเภทใด เช่น เกี่ยวกับงานเกษตรกรรม ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ก็อาจเกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตรและกรมประมง หรือแม้แต่สินค้าที่นำมาใช้ในบ้านเรือน จำพวกสินค้าอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค ก็อาจเกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยเฉพาะหากเป็นสินค้าที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ หรือส่วนผสมในกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรม ก็จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักควบคุมวัตถุอันตราย เป็นต้น
- หากไม่ทราบว่าจะเป็นสินค้าอันตรายหรือวัตถุอันตรายหรือไม่ ก่อนจะนำเข้าให้สอบถามทางผู้ผลิตเสียก่อน โดยขอรายละเอียดของตัวสินค้า เช่น เอกสารข้อมูลด้านความปลอดภัยหรือ MSDS. (Material Safety Data Sheet) เพื่อนำมาตรวจสอบกับ พรบ.วัตถุอันตราย 2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือเข้าไปดูที่
1. ข้อมูล “ของต้องมีใบอนุญาตใบรับรอง” จากเว็บไซต์กรมศุลกากร
2. ข้อมูลวัตถุอันตรายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จากเว็บไซต์
- หากตรวจสอบแล้วยังไม่แน่ใจว่าจะเข้าข่ายหรือไม่ ให้ทำหนังสือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับวัตถุอันตรายไปยังหน่วยงานที่อาจเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือของนำเข้าดังกล่าว
- หากทราบแล้วว่าสิ่งของนำเข้า/สินค้าจะต้องขออนุญาตก่อนนำเข้า ให้ดำเนินการไปตามวิธีการ ขั้นตอนดำเนินการต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในปัจจุบันได้มีบริการออนไลน์ในหลายหน่วยงานไว้รองรับความสะดวกในการติดต่อและดำเนินการได้โดยไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด
ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการที่ตรวจสอบสินค้าแล้วทราบว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด และดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ในการขออนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายให้เสร็จสิ้นเรียบร้อย การนำเข้าและนำผ่านพิธีการศุลกากรก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ข้อมูล : กรมโรงงานอุตสาหกรรม https://www.diw.go.th/webdiw/s-data/
Was this article helpful?
YesNo