Home > Logistics & Goods > พิธีการศุลกากร

เป็นกระบวนการขนส่งสิ่งของหรือสินค้าข้ามแดนที่ต้องผ่านมาตรการตรวจสอบตามกระบวนการทางกฎหมายต่างๆ โดยกรมศุลกากร ซึ่งจะแยกประเภทเป็น พิธีการทางบก พิธีการทางเรือ พิธีการทางอากาศ และการนำเข้าและส่งออกที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้จัดงานในอุตสาหกรรมไมซ์

1

ดาวน์โหลดไฟล์แบบคำขอลงทะเบียน

ผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากร

หรือเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์กรมศุลกากร www.customs.go.th หัวข้อ ผู้ประกอบการ > การลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า/ส่งออก > แบบคำขอ/แบบแนบ > แบบคำขอลงทะเบียน ผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (แบบคำขอหมายเลข 1)

ข้อควรรู้

กรณีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานทูต องค์การสาธารณกุศล หรือองค์การอื่น ๆ ที่ไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ให้ยื่นแบบคำขอด้วยตนเอง ณ ฝ่ายทะเบียนผู้นำเข้าและส่งออก ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร กรมศุลกากรเท่านั้น 


2

เตรียมเอกสารหลักฐานแสดงตน

ตัวแทนของออก

ผู้รับมอบอำนาจจากผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้นำของผ่านแดน หรือผู้ขอถ่ายลำ เพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา

ตัวแทนออกของ 2 ประเภท 

  • ตัวแทนออกของทั่วไป คือ บุคคลที่ยื่นคำขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของต่อกรมศุลกากร
  • ตัวแทนออกของระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator : AEO) คือตัวแทนออกของทั่วไป ที่มีการเพิ่มมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสู่ระดับโลก สามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วยความสะดวกรวดเร็ว และได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากร

3

การกรอกรายละเอียดในแบบคำขอและเอกสารนำส่ง

  • ในการขีดคร่อมกำกับสำเนาเอกสาร ให้ระบุข้อความว่า “ใช้สำหรับกรมศุลกากรเท่านั้น”
  • ในการลงนามท้ายแบบคำขอ ให้ลงนามในช่องที่กำหนดไว้เท่านั้น
  • ในการกรอกรายละเอียดชุดแบบคำขอ เลือกกรอกได้ด้วยการเขียนหรือพิมพ์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และหาก กรอกด้วยลายมือ จะต้องเป็นลายมือเดียวกันทั้งชุด
  • ห้ามมิให้ประทับตราของบริษัท/หน่วยงาน ทับบนลายมือชื่อ
  • ใช้ปากกาหมึกสีน้ำเงินกรอกแบบคำขอด้วยลายมือและใช้ลงนาม
  • การยื่น “เอกสารราชการ” ประกอบแบบคำขอ กรมศุลกากรจะแจ้งหน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารราชการเพื่อให้ จัดส่งข้อมูลหรือสำเนาเอกสารราชการมาเพื่อใช้ประกอบแบบคำขอ ยกเว้นว่าผู้ยื่นมีความประสงค์ที่จะนำ เอกสารราชการนั้นมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วยตัวเอง

4

ยื่นคำขอลงทะเบียน

ผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินการสามารถยื่นแบบคำขอลงทะเบียนได้ 2 รูปแบบ

1. ยื่นแบบทางออนไลน์

ยื่นแบบคำขออนุญาต/ ต่ออายุตัวแทนออกของปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ ในเว็บไซต์กรมศุลกากร www.customs.go.th  

2. ยื่นแบบด้วยตัวเอง

  • ฝ่ายทะเบียนผู้นำเข้าและส่งออก ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร 
  • ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 
  • หน่วยงานที่ได้รับอนุมัติให้รับลงทะเบียนของสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร

5

ค้นหาพิกัดศุลกากร

เดี๋ยวนี้การนำเข้าของจากต่างประเทศไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่คิด ถ้าเรารู้เรื่องพิกัดศุลกากรเอาไว้บ้าง เราลองหาเกร็ดความรู้สั้นๆ และช่องทางในการติดต่อหาข้อมูลเพิ่มได้อย่างรวดเร็ว มาอธิบายไว้ตรงนี้แล้ว

พิกัดศุลกากร หรือ HS CODE (Harmonized System) คืออะไร?

  • ระบบการจำแนกประเภทสินค้าในระดับสากล
  • ใช้แทนความหมายของสินค้าในแต่ละประเภท
  • ใช้ตรวจสอบการจัดเก็บภาษีนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศ
  • ใช้จำแนกประเภทสิ่งของต่างๆ เป็น 21 หมวด 97 ตอน

เลข HS Code ดูอย่างไร?

  • ตัวเลขพิกัดศุลกากรมี 11 หลัก
  • 6 หลักแรกกำหนดขึ้นโดยองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO)
  • 2 หลักถัดมาเป็นการแสดงพิกัดศุลกากรอาเซียน (CEPT Code)
  • 3 หลักหลังเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ

HS Code สำคัญอย่างไร?

  • ใช้ในการกำหนดอัตราภาษีทั้งขาเข้าและขาออก
  • การรู้ HS CODE  ที่ถูกต้องจะทำให้รู้ประเภท/หมวดหมู่สินค้าเพื่อใช้คำนวณค่าภาษี+นำไปขอสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรเพื่อลดหย่อนภาษี FTA ระหว่างประเทศได้
  • ใช้คำนวณภาษีกับต้นทุนเพื่อป้องกันการขาดทุนในการค้า

บริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าแต่ละชนิด ได้ที่ 
http://tariffeservice.customs.go.th/ITRF/

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรมศุลกากร

Was this article helpful?
YesNo