อุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ เป็น 1 ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของ MICE งานแสดงสินค้าในแวดวงการแพทย์แต่ละครั้งมักได้รับความสนใจจากผู้คนมากมาย ในการนำเข้ายาต่าง ๆ จากต่างประเทศจะต้องได้รับอนุญาติอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ ทั้งที่นำมาจัดแสดงและนำมาใช้งานจริง เรานำเกร็ดความรู้ในเรื่องการนำเข้า “ยากำพร้า” มาฝากกัน
ยากำพร้าและการนำเข้า
- ยากำพร้า คือ ยาที่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพอย่างต่อเนื่อง
- เป็นยาที่มีอัตราการใช้ต่ำ โดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน
- การนำเข้ายากำพร้าตามประเภทที่มีระบุไว้ตามกฎหมายจะได้รับยกเว้นอากรศุลกากร (ยกเว้นยา 11 รายการ)
- ในการนำเข้ามีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าก่อนการนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
11 รายชื่อยากำพร้าที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า
(ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 2))
- เบนซาโทรพีนเมซิเลต Benzatropine mesilate
- ไฮโดรคอร์ทิโซน Hydrocortisone
- ไอเวอร์เม็กทิน Ivermectin
- เมทิลีนบลู Methylene blue
- เพอร์เมทริน Permethrin
- โซเดียมแคลเซียมเอดีเตท Sodium calcium edetate
- โซเดียมไนไตรท์ Sodium nitrite
- โซเดียมไทโอซัลเฟต ร้อยละ 25 Sodium thiosulfate 25%
- เซรุ่มแก้พิษงู Antivenom sera
- เซรุ่มแก้พิษงูกะปะ Malayan Pit Viper antivenin
- เซรุ่มแก้พิษงูสามเหลี่ยม Banded Krait antivenin
- เซรุ่มแก้พิษงูเห่า Cobra antivenin
- เซรุ่มแก้พิษงูจงอาง King Cobra antivenin
- เซรุ่มแก้พิษงูแมวเซา Russell’s Viper antivenin
- เซรุ่มแก้พิษงูเขียวหางไหม้ Green Pit Viper antivenin
- เซรุ่มแก้พิษงูทับสมิงคลา Malayan Krait antivenin
10. เซรุ่มแก้พิษงูระบบโลหิต Polyvalent antivenom for hemato
11. เซรุ่มแก้พิษงูระบบประสาท Polyvalent antivenom for neurotoxin
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมศุลกากร
ที่มา : กรมศุลกากร
รูปโดย: frimufilms
Was this article helpful?
YesNo