สำหรับบางคนที่ต้องเดินทางไปทั่วโลกบ่อยๆ อาจคุ้นชินกับคำว่า Tourist Tax หรือค่าเหยียบแผ่นดิน ที่หลายประเทศเรียกเก็บภาษีประเภทนี้อยู่บ้างแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยซึ่งกำลังจะเริ่มให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมชนิดนี้ขึ้นในปี 2566 เป็นครั้งแรก มาทำความรู้จักกันว่า Tourist Tax ของประเทศไทยจะจัดเก็บอย่างไร เพื่ออะไร และเริ่มต้นเมื่อไหร่
- ค่าเหยียบแผ่นดิน หรือ ภาษีนักท่องเที่ยว ก็คือค่าบริหารจัดการ ค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย
- คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
- อัตราการจัดเก็บแบ่งออกเป็น
- สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านช่องทางอากาศ 300 บาท/คน/ครั้ง
- สำหรับผู้เดินทางเข้าช่องทางทางบกและน้ำ 150 บาท/คน/ครั้ง
- ให้ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับ
- ผู้ถือหนังสือเดินทางเพื่อการทูต กงสุล หรือการปฏิบัติราชการ (Diplomatic or Official Passport)
- ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพในประเทศไทย (Work Permit) หรือหนังสืออนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด
- ผู้โดยสารผ่าน (Transit Passenger)
- ทารกและเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี
- บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการ ท.ท.ช. กำหนด
- สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) จะปรับปรุงกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจลงตรา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ออกตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยกำหนดให้ใช้หลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นเอกสารประกอบการอนุญาตเข้าเมืองและให้ สตม. เป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตเข้าเมือง
- รายได้จากภาษีนักท่องเที่ยวจะถูกนำไปใส่ในกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ฉบับปรับปรุง) โดยมีสำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เป็นผู้รับผิดชอบดูแลนำไปพัฒนาภารกิจด้านการท่องเที่ยว ใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดูแลนักท่องเที่ยว/แหล่งท่องเที่ยว บริหารและพัฒนาการท่องเที่ยวด้านต่างๆ การจัดให้มีประกันภัยแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติในระหว่างท่องเที่ยวในไทย
- ปัจจุบันมี 40 กว่าประเทศทั่วโลกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่เก็บค่าธรรมเนียมแล้วมีสวัสดิการคืนแก่นักท่องเที่ยวผ่านประกันอุบัติเหตุ การเสียชีวิต และการส่งศพกลับประเทศ เพื่อดูแล ช่วยเหลือ เยียวยานักท่องเที่ยว เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย
ที่มา : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
รูปโดย: Freepik
Was this article helpful?
YesNo