Home > News & Tips > News update > ISO/IEC 42001 มาตรฐานระบบการจัดการ AI ฉบับแรกของโลก

ISO/IEC 42001 มาตรฐานระบบการจัดการ AI ฉบับแรกของโลก

ตุลาคม 22, 2024 | 100 views

ทุกวันนี้เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนไปแล้ว ต้องยอมรับว่า AI เป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่สร้างความสะดวกสบายอันหลากหลายให้ผู้ใช้อย่างมาก แต่ทว่ามีสิ่งที่พึงระวังก็คือ AI นั้นเป็นความก้าวหน้าที่หากนำไปใช้ควรจะต้องมีการกำกับดูแลอย่างมีความรับผิดชอบ หรือในบางเรื่องอาจจะต้องมีการควบคุมที่เข้มงวดอีกด้วย 

บทความของสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO ได้วิเคราะห์ไว้ว่าในภาคธุรกิจควรจะควบคุมดูแล AI อย่างไร

• การให้การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น ผู้คนต้องได้รับการบอกกล่าวเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะใช้เทคโนโลยี AI และวิธีหลีกเลี่ยง ซึ่งวิธีนี้ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในความปลอดภัยของตนเองได้

• ต้องมีแนวทางแก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับความเสี่ยง มีวิธีแก้ไขปัญหาสำหรับภัยคุกคาม เช่น ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง มีวิธีแก้ไขความเสี่ยงของAI อย่างมีประสิทธิภาพ

• จำเป็นต้องมีกฎระเบียบ ต้องระมัดระวังในสิ่งที่เราควบคุม เทคโนโลยี AIและเครื่องมือที่ใช้นั้นซับซ้อนและมีความรวดเร็ว กฎระเบียบจะต้องได้รับการออกแบบและนำไปปฏิบัติโดยมองการณ์ไกลเพียงพอ 

• ปัจจุบัน AI กำลังพัฒนาไปตามเส้นทางต่าง ๆ ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน แต่ความท้าทายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก AI มีอยู่ทั่วโลก ทำให้ต้องมีวิธีแก้ปัญหาที่ครอบคลุม ยุติธรรม และยืดหยุ่น เพื่อนำกระแสข้อมูลเหล่านี้มารวมกันและก้าวไปข้างหน้าอย่างมีความรับผิดชอบ จึงต้องมีการรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดจากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน

ISO/IEC 42001 มาตรฐานระบบการจัดการ AI ฉบับแรกของโลก

• ISO มีหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐานสากลที่ช่วยจัดการความท้าทายระดับโลกในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งเรื่อง AI

• ISO/IEC 42001, Information technology – Artificial intelligence – Management system การจัดการกับความท้าทายเฉพาะตัวที่อาจเกิดขึ้นกับAI เช่น การพิจารณาด้านจริยธรรม ความโปร่งใส และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการสร้างความมั่นใจว่าการพัฒนาและการใช้ระบบ AI เป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบ

• มีการทำงานอย่างต่อเนื่องและคำนึงถึงความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการพัฒนามาตรฐานสากลที่ครอบคลุมและยืดหยุ่น ธุรกิจจึงจะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงจริยธรรมความรับผิดชอบของ AI

• การนำมาตรฐาน ISO/IEC 42001 มาสร้างแนวทางการจัดการกับ AI อย่างมีความรับผิดชอบทางธุรกิจ จะช่วยสร้างโอกาสในการปรับเปลี่ยนธุรกิจ เพิ่มผลผลิต และส่งเสริมการใช้งาน AI และนวัตกรรม

• อนาคตของ AI ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นจากนักเทคโนโลยีเท่านั้น ผู้ประกอบการสามารถกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีที่จะใช้ AI ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

Was this article helpful?
YesNo