การชำระภาษีอากรในประเภทต่างๆ เมื่อเดินทาง และ/หรือนำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย ของที่ติดตัวเข้ามาหรือเป็นการนำเข้าสินค้า สินค้าชนิดใดจะต้องมีการชำระภาษีต่อหน่วยงานใดบ้าง ซึ่งมี 3 กรมภาษีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนะนำเว็บไซต์ที่บริการด้านภาษีอากรต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางในการดำเนินการจัดการด้านภาษีอากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาในหน้านี้
การชำระภาษีสำหรับบุคคลผู้เดินทางเข้าประเทศไทย
เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ในพิธีการด้านการชำระภาษีจะต้องเดินเข้าช่องตรวจสิ่งของที่ต้องสำแดง
- ช่องตรวจสีเขียว (Nothing to Declare) ไม่มีสินค้าต้องสำแดง และหากและได้รับการตรวจพบว่ามีสินค้าเกินกว่าที่อนุญาตหรือมีของต้องสำแดง แต่ไม่ทำการสำแดง จะได้รับการจับปรับและดำเนินคดีทางกฎหมาย
- ช่องตรวจสีแดง (Goods to Declare) มีสินค้าต้องสำแดง และมีสินค้าต้องเสียภาษีศุลกากร สามารถชำระภาษีหรือขอฝากสินค้า (มีค่ารับฝาก) เพื่อทำการชำระภาษีในภายหลังได้
ข้อควรรู้
การสำแดงสินค้าที่ซื้อจาก duty free ในสนามบิน
หากจะซื้อสินค้าปลอดภาษีที่สนามบินในช่วงขาเข้า สามารถซื้อสินค้าได้ในมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท (รวมทั้งหมด) สำหรับการได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจะนับรวมทั้งสินค้าที่ซื้อมาจากต่างประเทศ สินค้าที่ซื้อออกไปในช่วงขาออก และสินค้าที่ซื้อในร้าน duty free ขาเข้า ทั้งหมดรวมกันในราคาไม่เกิน 20,000 บาท ก็ไม่จำเป็นต้องสำแดง
2
การชำระภาษีอากรนำเข้าของกรมศุลกากร
การค้นหาอัตราภาษีอากร
ผู้นำเข้าลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ได้ที่ เว็บไซต์กรมศุลกากร
- ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร ได้ที่เว็บไซต์กรมศุลกากร
- กรณีที่เป็นสินค้าต้องกำกัด (สินค้าควบคุมการนำเข้า)
- จะต้องขอใบอนุญาตก่อนนำเข้า สามารถค้นหาพิกัดได้ทางเว็บไซต์กรมศุลกากร-> บริการอิเล็กทรอนิกส์ -> ใบอนุญาต/ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ > Reference Files-> Permission Goods Excel
- ใช้บริการ Tariff e-service เว็บไซต์การให้บริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์
3
การชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
ดูข้อมูลเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ www.rd.go.th/307.html
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 Call Center กรมสรรพากร โทร. 1161
4
การชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
กรมสรรพากรภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร www.rd.go.th/14929.html
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 Call Center กรมสรรพากร โทร. 1161
5
การชำระภาษีสรรพสามิต
รายชื่อสินค้านำเข้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
- น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
- เครื่องดื่ม
- เครื่องใช้ไฟฟ้า
- แก้วเลคคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่น ๆ
- รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
- เรือยอชต์ และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
- น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม
- พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น (เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์)
- รถจักรยานยนต์
- แบตเตอรี่
- สุรา
- ยาสูบ
- ไพ่
ข้อควรรู้
อัตราภาษี เครื่องดื่มและสุรา ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ภายใต้กฎหมายรองรับ สามารถเข้าไปอัพเดตข้อมูลได้ที่
คลินิกภาษี www.taxclinic.mof.go.th กระทรวงการคลัง เข้าหน้าหลัก > หมวดหมู่สินค้า > การผลิตอาหาร > เครื่องดื่มและยา > คลินิกภาษีสุรา
และที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต www.excise.go.th/excise2017/index.htm
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กรมสรรพสามิต เลขที่ 1488 ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์สายด่วนสรรพสามิต 1713
6
เว็บไซต์การบริการด้านภาษีอากร
1. ระบบบริการ TAX Single Sign On
เว็บไซต์ที่กระทรวงการคลังพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนด้านภาษีของ 3 กรมภาษี คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และ กรมศุลกากร โดยการใช้รหัสผ่านเดียว เรียกว่า “ระบบบริการ Tax Single Sign On (Tax SSO)” เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศ
ข้อดีการใช้งาน ลดความยุ่งยากในการจดจำรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าใช้บริการของ 3 กรมภาษี ด้วยการยืนยันตัวตนผู้ใช้งานผ่านรหัส One Time Password (OTP) ทางโทรศัพท์มือถือ และ อีเมล ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการยื่นแบบและธุรกรรมภาษีของ 3 กรมภาษี
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Call Center กระทรวงการคลัง โทร. 1689
Call Center กรมสรรพากร โทร. 1161
Call Center กรมศุลกากร โทร. 1164
สายด่วน กรมสรรพสามิต โทร. 1713
2. TAX Clinic คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง
เว็บไซต์รวบรวมข้อมูลความรู้เรื่องภาษีที่จำเป็นเพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับทราบและเข้าใจ ไขข้อสงสัยรายละเอียดของภาษีสินค้าในแต่ละผลิตภัณฑ์ ดำเนินงานโดย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง Call Center 1689 และที่ www.taxclinic.mof.go.th
3. Tariff e-service เว็บไซต์การให้บริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์
เป็นโครงการจัดทำฐานข้อมูลสืบค้นผลคำวินิจฉัยประเภทพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้บริการเชิงข้อมูล จัดเก็บในฐานข้อมูล 4 ฐานข้อมูล ประกอบด้วย
- ข้อมูลคำวินิจฉัยพิกัดอัตราศุลกากร
- ข้อมูลการพิจารณาอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากร
- ข้อมูลคำวินิจฉัยของ WCO
- ข้อมูลอัตราอากร
ดูเพิ่มเติมการให้บริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (แบ่งให้ค้นหาเป็นหมวดหมู่)
4. TIC คลินิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร (Tax Incentive Clinic)
ให้บริการรับยื่นเอกสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และสามารถนัดหมายขอรับคำปรึกษาในด้านต่างๆ ล่วงหน้าได้ โดยครอบคลุมบริการ ดังนี้
เพื่อให้ผู้ประกอบการสอบถามข้อมูลซึ่งจะทำให้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและสอดคล้องไปกับระบบโลจิสติกส์ในปัจจุบัน ดูข้อมูลเพิ่มเติม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร “คลินิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร” ณ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ เปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.