การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ก็คือ การที่เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพนักงานตามกฎหมายลงลายมือชื่อและตราประทับ เพื่อรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของเอกสารต่าง ๆ ทั้งเอกสารสำคัญที่ทางราชการออกให้ และนิติกรรมที่จัดทำขึ้นโดยเอกชน เป็นวิธีการที่นานาชาติใช้ปฏิบัติระหว่างกัน ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการการยื่นคำขอก็คือ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
การรับรองนิติกรณ์เอกสาร (Legalization)
- เป็นระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร พ.ศ.2539
- การรับรองนิติกรณ์เอกสารแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
- การรับรองนิติกรณ์เอกสารแปล
- การรับรองนิติกรณ์สำเนาเอกสาร
- การรับรองนิติกรณ์ลายมือชื่อ
- เอกสารที่ออกในประเทศไทยและจะนำไปใช้ในต่างประเทศ หากจะให้เป็นที่ยอมรับและมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายของประเทศที่จะนำเอกสารไปใช้ ต้องผ่านการรับรองนิติกรณ์เอกสารจากส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
- กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล
- หน่วยงานราชการของกรมการกงสุลที่ได้รับมอบหมาย
- หน่วยงานราชการของกระทรวงการต่างประเทศในต่างประเทศ
- สถานเอกอัครราชทูต
- สถานกงสุลใหญ่
- สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย
- สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่ได้รับมอบหมาย
เงื่อนไขสำคัญการยื่นคำขอ
- ต้องแนบเอกสารต้นฉบับภาษาต่างประเทศหรือสำเนาพร้อมต้นฉบับคำแปลภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย
- ได้รับรองตามกฎหมายหรือกฎระเบียบหรือแนวปฏิบัติภายในของประเทศนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
- ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการของกระทรวงการต่างประเทศในต่างประเทศ (สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยที่ได้รับมอบหมายในประเทศนั้น ๆ)
ค่าธรรมเนียม
- บริการแบบปกติ 200 บาท/1 ตราประทับรับรองนิติกรณ์
- กรณีรับรองนิติกรณ์คำแปลสัญญาหรือเอกสารศาล 400 บาท/หน้า
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ไฟล์ pdf
รูปโดย cookie_studio
Was this article helpful?
YesNo