Home > News & Tips > Knowledge > ทำความรู้จัก “ของตกค้าง” ในความหมายของศุลกากร 

ทำความรู้จัก “ของตกค้าง” ในความหมายของศุลกากร 

สิงหาคม 23, 2023 | 13200 views

ในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอาจเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดขึ้นได้เสมอ อาทิ สถานะการเป็น “ของตกค้าง” ซึ่งมักจะทำให้ผู้นำเข้าเสียเวลาและเสียประโยชน์ เนื่องจากของที่เข้าข่ายเป็น “ของตกค้าง” นั้นจะไม่สามารถนำออกมาจากเขตศุลกากรได้ทันที

แล้วสถานะการเป็น “ของตกค้าง” เกิดขึ้นได้อย่างไร และมาจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เรามาเช็คกันดีกว่าว่าของนำเข้าแบบไหนที่เข้าเกณฑ์เป็น “ของตกค้าง” ในพิธีการศุลกากร 


นิยามและหลักเกณฑ์การเป็นของตกค้าง

 “ของตกค้าง” หมายถึง ของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้

  1. ของนําเข้าที่เป็นสินค้าอันตราย ตามชนิดหรือประเภทที่กำหนดตามมาตรา 5 (5) แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่ผู้นําของเข้ายังไม่ได้นําของออกไปจากเขตศุลกากรภายใน 5 วัน สำหรับของที่ขนถ่ายข้างลำ (OVERSIDE) และภายใน 7 วัน สำหรับกรณีอื่นนับแต่สินค้าอันตรายอยู่ในอารักขาของศุลกากร
  2. ของนําเข้าอื่นนอกจากข้อ 1 จะตกเป็นของตกค้าง มี 2 ประเภท ดังนี้

2.1 ของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรเกินเวลา 30 วัน นับแต่วันนําเข้า 

  • เป็นของที่ไม่มีการยื่นใบขนสินค้าและไม่ได้เสียอากรหรือวางประกันค่าอากรที่พึงเรียกเก็บแก่ของนั้น
  • อธิบดีได้มีหนังสือแจ้งไปยังตัวแทนของเรือที่นําของเข้ามา แต่ตัวแทนของเรือไม่ยอมดำเนินการให้ถูกต้อง ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง

2.2 ของนําเข้าที่ไม่ได้นำออกไปจากอารักขาของศุลกากรภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี 

  • เป็นของที่มีการยื่นใบขนสินค้าโดยไม่ได้เสียอากรหรือวางประกันอากร 
  • เป็นของที่มีการยื่นใบขนสินค้าและเสียอากรหรือวางประกันค่าอากรไว้ไม่ครบถ้วน

3. ของสดของเสียได้ ที่ยังมิได้รับมอบไปจากอารักขาของศุลกากร และเห็นได้ชัดว่ามีลักษณะบูดเน่าหรือเสียแล้ว (ตามมาตรา 109)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ที่มา : กรมศุลกากร 

Was this article helpful?
YesNo