อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์นับเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมการค้าโลก ในระดับภูมิภาคไทยเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเอเชีย ส่วนด้านโลจิสติกส์นั้น ภาครัฐมีนโยบายกระตุ้นการเติบโตด้วยการผนวกรวมระบบขนส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Logistics) ทั่วทุกเส้นพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) ให้เป็นหนึ่งเดียว
ขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออกผลิตภัณฑ์
ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร
ผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติ พิธีการศุลกากร เพื่อบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
ข้อควรรู้
ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนหากของมีราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัย ไม่เกิน 1,500 บาท และไม่เป็นของต้องห้าม หรือต้องกำกัดตามกฎหมาย
รู้จักระบบ NSW (National Single Window)
นอกจากการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับศุลากรแล้ว ในการยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ สำหรับบางหน่วยงาน สามารถยื่นเอกสารผ่านระบบ NSW (National Single Window) ได้เลย โดยผู้ขอใบอนุญาตจะต้องลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ NSW กับหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาตเสียก่อน เพื่อรับรหัสการใช้งาน จึงจะสามารถยื่นเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นี้ได้
2
ตรวจสอบผลิตภัณฑ์และยื่นขอใบอนุญาต
หากผลิตภัณฑ์เป็น “สินค้าทั่วไป” สามารถข้ามขั้นตอนนี้ เพื่อไปยังขั้นตอนตอนพิธีการนำเข้า-ส่งออกได้ แต่ถ้าหาก ผลิตภัณฑ์เป็นประเภท “ของต้องมีใบอนุญาต/ใบรับรองในการนำเข้า-ส่งออก” ต้องยื่นขอใบอนุญาต/ใบรับรองใน การนำเข้า-ส่งออกกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อนำมาใช้ประกอบในพิธีการนำเข้าส่งออกของกรมศุลกากร
โดยสามารถตรวจสอบประเภทผลิตภัณฑ์เพื่อยื่นขอใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดาวน์โหลดแบบคำขอ ศึกษารายละเอียดขั้นตอน และเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้
3
พิธีการศุลกากรนำเข้า
สามารถเลือกศึกษาพิธีการศุลกากรนำเข้าเพิ่มเติม โดยเลือกตามวิธีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
4
การส่งของกลับออกไป
สามารถศึกษาวิธีการส่งของกลับออกไป