Home > News & Tips > Knowledge > ทำความรู้จัก JOC คณะทำงานร่วมภาคสนาม บทบาทใหม่ในอุตสาหกรรมไมซ์ไทย

ทำความรู้จัก JOC คณะทำงานร่วมภาคสนาม บทบาทใหม่ในอุตสาหกรรมไมซ์ไทย

ตุลาคม 21, 2022 | 1502 views

JOC – Joint Operating Committee คือคณะทำงานร่วมภาคสนามที่ “คณะอนุกรรมการประสานงานภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและบริการอุตสาหกรรมไมซ์” ใช้เป็นกลไกในการประชุมหารือร่วมกัน ช่วยกันแก้ปัญหาหรือลดอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในการดำเนินงาน/จัดงานในอุตสาหกรรมไมซ์ ตั้งแต่การเตรียมงาน ก่อน – ระหว่าง – หลังงานสิ้นสุด

  • JOC เป็นคณะทำงานร่วมภาคสนาม ที่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นมาในระหว่างการจัดงานไมซ์ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุปสรรคในกระบวนการก่อนจัดงาน ระหว่างการจัดงาน จนถึงจบงาน ซึ่งคณะทำงาน JOC จะประกอบไปด้วยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานนั้นๆ
  • หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น กรมศุลกากร กรมการกงสุล กรมการจัดหางาน กรมทางหลวง กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ กรมวิชาการเกษตร กรมสรรพสามิต กรมปศุสัตว์ กรมประมง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฯลฯ
  • หน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น บริษัทผู้จัดงาน บริษัทเจ้าของสถานที่จัดงาน บริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ  บริษัทด้านการขนส่งมวลชน โรงแรมต่างๆ บริษัทตัวแทนออกของ ฯลฯ เช่น ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค  ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัทออลไทย แท็กซี่ จำกัด เป็นต้น
  • อุปสรรคในอุตสาหกรรมไมซ์ประการหนึ่งคือ เป็นการดำเนินธุรกิจที่ต้องข้องเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ ที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบธุรกิจ/ผู้จัดงานจึงต้องมีองค์ความรู้หรือแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายและอยู่ในแหล่งเดียวกัน
  • JOC ทำให้เกิดการประสานงานโดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องมาพบกันและสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้หน่วยงานรัฐกับผู้ประกอบการเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว
  • การประชุมหารือแลกเปลี่ยนและช่วยกันแก้ไขปัญหา ลดอุปสรรค รวมทั้งหาแนวทางในการประสานงาน ทำให้เกิดการสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในการร่วมงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
  • ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้สร้างคุณประโยชน์แก่อุตสาหกรรมไมซ์ไทยเป็นอย่างมาก ช่วยลดอุปสรรคซึ่งเป็นปัญหามายาวนาน และทำให้การจัดงานต่างๆ ประสบความสำเร็จมากมาย
  • เกิดเสียงตอบรับอย่างดีจากภาคเอกชน ทั้งในแง่ของความทุ่มเทและประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรมไมซ์

ที่มา : EASE of DOING BUSINESS Thailand MICE Facilitation Report

Was this article helpful?
YesNo