พิกัดศุลกากร หรือ HS Code (Harmonized System) เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายทางการค้า จัดเก็บภาษีอากร ควบคุมสินค้าต้องห้าม ต้องขออนุญาต ใช้ในการเจรจาด้านถิ่นกำเนิดสินค้า ติดตามสินค้าควบคุม เช่น อาวุธเคมี และกลุ่มสินค้าที่มีอำนาจทำลายล้างสูง
พิกัดศุลกากรจะมีการกำหนดตัวเลขขึ้นมาทั้งหมด 11 หลักตามหลักสากล ใช้สำหรับการนำเข้าส่งออกสินค้าต่าง ๆ ระหว่างประเทศ ซึ่งในระบบพิกัดศุลกากรได้แบ่งประเภทสิ่งของออกเป็น 21 หมวด และ 97 ตอน มาดูกันว่าการจำแนกพิกัดศุลกากรนั้นแบ่งกลุ่มสินค้าชนิดต่าง ๆ อย่างไร ประเภทไหน และอยู่ในหมวดอะไรบ้าง
ระบบพิกัด HS Code จัดแบ่งกลุ่มสินค้าตามขั้นตอนการผลิตออกเป็น 21 หมวด 97 ตอน (5,386 ประเภท)
หมวด 1 สัตว์มีชีวิต ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (ตอนที่ 1 – 5)
หมวด 2 ผลิตภัณฑ์จากพืช (ตอนที่ 6 -14)
หมวด 3 ไขมันและน้ำมันที่ได้จากสัตว์หรือพืช และผลิตภัณฑ์ที่แยกได้จากไขมันและน้ำมันดังกล่าวฯ (ตอนที่ 15)
หมวด 4 อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม สุรา และน้ำส้มสายชู ยาสูบ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนยาสูบฯ (ตอนที่ 16 – 24)
หมวด 6 ผลิตภัณฑ์ทางเคมี (ตอนที่ 28 – 38)
หมวด 7 ผลิตภัณฑ์ของพลาสติกและยาง (ตอนที่ 39 – 40)
หมวด 8 ผลิตภัณฑ์จากหนังและหนังเฟอร์ (ตอนที่ 41 – 43)
หมวด 9 ไม้และของทำด้วยไม้ (ตอนที่ 44 – 46)
หมวด 10 เยื่อไม้และกระดาษ (ตอนที่ 47 – 49)
หมวด 11 สิ่งทอและของทำด้วยสิ่งทอ (ตอนที่ 50 – 63)
หมวด 12 ของสำเร็จรูป (ตอนที่ 64 – 67)
หมวด 13 หิน ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องแก้ว (ตอนที่ 68 – 70)
หมวด 14 ไข่มุก รัตนชาติ (ตอนที่ 71)
หมวด 15 โลหะสามัญและของทำด้วยโลหะสามัญ (ตอนที่ 72 – 83)
หมวด 16 เครื่องจักร เครื่องกล อุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 84 – 85)
หมวด 17 ยานบก ยานน้ำ อากาศยาน (ตอนที่ 86 – 89)
หมวด 18 อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์ การแพทย์ เครื่องดนตรี นาฬิกา (ตอนที่ 90 – 92)
หมวด 19 อาวุธและกระสุน (ตอนที่ 93)
หมวด 20 ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด (ตอนที่ 94 – 96)
หมวด 21 ศิลปกรรม โบราณวัตถุ (ตอนที่ 97)
ช่องทางการค้นหาพิกัดศุลกากร และรหัสพิกัดสินค้า
สามารถอ่านเรื่องพิกัดศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่นี่
ที่มา : กรมศุลกากร
รูปโดย: ayhomestudio