“ทองคำ” เป็นสินค้ามีมูลค่าสูงอีกประเภทหนึ่งที่มีมาตรการนำเข้า-ส่งออก และต้องขออนุญาตจากกระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) หรือผู้ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อนนำเข้ามาในประเทศไทย
มาดูกันว่าทองคำแบบไหนที่อยู่ในการควบคุมและแบบไหนอยู่ในขอบข่ายที่ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากรได้
ขอบเขตการควบคุมการนำเข้า
- แร่ทองคำ
- เนื้อทองคำ ไม่ว่าจะเป็นแท่ง ก้อน แผ่น หรือรูปอื่น หรือ ผสมกับสิ่งอื่นใด แต่ไม่หมายความรวมถึงเครื่องรูปพรรณทองคำตามปกติโดยสภาพใช้ในการประดับร่างกาย
เกร็ดความรู้การนำเข้าทองคำกับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- การนำเข้าทองคำ/การขายทองคำประเภททองรูปพรรณ/ไม่ใช่ทองรูปพรรณ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติ
- ผู้นำเข้า/การขายทองคำที่ประสงค์จะรับสิทธิ์ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องเป็นเฉพาะที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณ โดยทองคำดังกล่าวต้องมีน้ำหนักเนื้อทองไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5
- ผู้ประกอบการต้องแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำต่อกรมสรรพากรตามแบบที่กำหนดไว้
- กรณีที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้แจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำเป็นรายสถานประกอบการ
- จะต้องแสดงเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการนำเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ในเวลายื่นใบขนสินค้าเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และต้องมีเอกสาร/หลักฐานจากผู้ขายในต่างประเทศว่าผู้นำเข้าเป็นผู้ซื้อทองคำดังกล่าวจากผู้ขายในต่างประเทศ
- เอกสารหรือหลักฐานต่างๆ จะต้องเก็บรักษาไว้ที่สถานประกอบการพร้อมให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบได้
- ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำรายงานค้าทองคำตามแบบ ภ.พ.01.3 และแบบรายงานค้าทองคำ
- การนำเข้าที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับการขายสินค้าทั่วไป
- สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 311 ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพากร
ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กรมศุลกากร อ่านเพิ่มเติมที่นี่
กรมสรรพากร อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.rd.go.th/2683.html
รูปโดย: Freepik
Was this article helpful?
YesNo