Home > News & Tips > Customs > ข้อควรรู้ของการนำเข้าอาหารเพื่อเป็นตัวอย่างในการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร

ข้อควรรู้ของการนำเข้าอาหารเพื่อเป็นตัวอย่างในการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร

กรกฎาคม 24, 2023 | 1469 views

ทุกวันนี้ในวงการอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกมีตำรับอาหารแปลกใหม่เกิดขึ้นมากมายและหลากหลายให้เลือกสรร สำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจนำเข้าอาหารรูปแบบใหม่ๆ เพื่อมาเปิดตลาดในไทย อาจมีอาหารบางประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องยื่นขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เสียก่อน

มาดูกันว่า หากต้องนำเข้าอาหารในรูปแบบนี้ มีสิ่งที่ควรรู้และการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ข้อควรรู้

  • อาหารที่นำเข้า ไม่เป็นอาหารห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
  • ตรวจดูบัญชีกำหนดชนิดและปริมาณอาหารตามระเบียบ อย. ได้ที่
  • ต้องแสดงเอกสารหลักฐานเมื่อมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความเสี่ยงจากโรควัวบ้า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 377) พ.ศ. 2559 
  • ต้องแสดงเอกสารหลักฐานเมื่อมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโอกาสใช้น้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 388) พ.ศ. 2561
  • กรณีเอกสารประกอบเป็นภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษให้แนบคำแปลภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่ผ่านการรับรองคำแปลจากหน่วยงานหรือบุคคลตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น จากสถานทูต/สถานกงสุล หรือหน่วยงานที่ดำเนินธุรกิจการแปลเอกสารที่เป็นมาตรฐานสากลพร้อมใบรับรอง เป็นต้น
  • ในกรณีผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามีความคาบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อื่นที่มีความซับซ้อนในการจัดประเภท ผู้ยื่นคำขอต้องไปติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวินิจฉัยประเภทของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ก่อน
  • ต้องยื่นหลักฐานประกอบการขอเข้าใช้ระบบสารสนเทศด่านอาหารและยา (เปิดสิทธิ) คลิกดูรายละเอียดที่  หลังจากนั้นให้ สมัคร OPEN ID ที่นี่  เพื่อขอ Username และ Password เข้าใช้ระบบ e-submission และ ยื่นคำขอออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ อย.

เอกสารประกอบสำคัญ

  • สำเนาบัญชีราคาสินค้า (Invoice) 1 ฉบับ
  • สำเนาใบตราส่ง (Air Waybill : AWB / Bill of Lading : BL)/รายละเอียดบัญชีสินค้า (Packing list) หรือเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี
  • รูปภาพสินค้า และฉลากที่เห็นชื่อและสูตรส่วนประกอบชัดเจน 
  • หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้า พร้อมข้อความรับรองว่าจะนำตัวอย่างสินค้าเพื่อใช้ในการขึ้นทะเบียนตำรับ หรือเพื่อพิจารณาสั่งซื้อเท่านั้น 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

ที่มา : กองด่านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Was this article helpful?
YesNo