Home > News & Tips > Knowledge > ประเภท 3 ภาค 4 สิทธิทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว ของแบบไหนที่ถูกยกเว้นอากร

ประเภท 3 ภาค 4 สิทธิทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว ของแบบไหนที่ถูกยกเว้นอากร

มีนาคม 16, 2023 | 1466 views

สำหรับผู้ประกอบการ MICE ที่จัดงานในระดับนานาชาติบ่อยครั้งน่าจะคุ้นเคยดีกับ ประเภท 3 (ฉ) ของเพื่อการจัดแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และ ประเภท 3 (ญ) ของหรืออุปกรณ์เพื่อการแข่งขันระดับนานาชาติ  ซึ่งก็รวมอยู่ในกลุ่มยกเว้นอากรด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าการนำเข้าของแบบไหนบ้าง เข้าข่าย “ประเภท 3 ภาค 4” ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

ข้อสำคัญที่ต้องรู้

คำว่า “ประเภท 3”  หมายถึง “ของที่กล่าวไว้ข้างล่างนี้ ถ้านำเข้ามาพร้อมกับตนหรือนำเข้ามาเป็นการชั่วคราว จะส่งกลับออกไปภายในไม่เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่นำเข้ามา”

กรมศุลกากรจัดประเภทของเป็นไปตามตัวอักษรไทย ดังนี้ 

  • (ก) : ของที่ใช้ในการแสดงละครหรือการแสดงอย่างอื่นที่คล้ายกัน ซึ่งผู้แสดงที่ท่องเที่ยวนำเข้ามา
  • (ข) : เครื่องประกอบและของใช้ในการทดลอง หรือการแสดงเพื่อวิทยาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามาเพื่อจัดการทดลองหรือแสดง
  • (ค) : รถสำหรับเดินบนถนน เรือและอากาศยาน บรรดาที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน
  • (ง) : เครื่องถ่ายรูปและเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามาเพื่อใช้ถ่ายรูปหรือบันทึกเสียงต่างๆ แต่ฟิล์มและแผ่นสำหรับถ่ายรูปหรือสิ่งที่ใช้บันทึกเสียง ซึ่งนำมาใช้ในการนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข และปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด
  • (จ) : อาวุธปืนและกระสุนปืน ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามา พร้อมกับตน
  • (ฉ) : ของที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราว โดยมุ่งหมายจะแสดงในงานสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนดูได้ทั่วไป
  • (ช) : ของที่นำเข้ามาเพื่อซ่อม แต่ต้องปฏิบัติภายในเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
  • (ซ) : ตัวอย่างสินค้า นอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 14 ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว นำเข้ามาพร้อมกับตนและมีสภาพ ซึ่งเมื่อจะส่งกลับออกไปสามารถตรวจได้แน่นอนว่า เป็นของอันเดียวกับที่นำเข้ามา แต่ต้องมีปริมาณ หรือค่าซึ่งเมื่อรวมกันเข้าแล้วไม่เกินกว่าที่จะเห็นได้ว่าเป็นตัวอย่างตามธรรมดา
  • (ญ) : เครื่องมือ และสิ่งประกอบสำหรับงานก่อสร้าง งานพัฒนาการ รวมทั้งกิจการชั่วคราวอย่างอื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรจะเห็นสมควร (ให้ได้รับยกเว้นเพียงเท่าเงินอากรที่จะพึงเสียในขณะนำเข้าหักด้วยจำนวนเงินอากรที่คำนวณตามระยะเวลาที่ของนั้นอยู่ในประเทศ ในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของจำนวนอากรที่จะพึงต้องเสียในขณะนำเข้า ในการคำนวณให้นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน และจะต้องชำระอากรก่อนส่งกลับออกไป)

ข้อมูลจากกรมศุลกากร 

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.customs.go.th/data_files/7be87200535c71b44b5745aa59a12c19.pdf 

Was this article helpful?
YesNo