Home > News & Tips > Knowledge > ว่าด้วยเรื่อง “ชา-กาแฟ” สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า

ว่าด้วยเรื่อง “ชา-กาแฟ” สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า

มีนาคม 6, 2023 | 1886 views

รู้หรือไม่ว่าการนำเข้าสินค้ายอดฮิตอย่าง “ชาและกาแฟ” จากต่างประเทศ นอกจาก อย. แล้ว จะต้องขออนุญาตนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ (Department of Foreign Trade) ให้ถูกต้องด้วย มาดูข้อควรรู้กันว่ามีระเบียบหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง

ขอบเขตการควบคุม

  • เมล็ดกาแฟ จะคั่วหรือแยกกาแฟอีนออกแล้วหรือไม่ก็ตาม เปลือกและเยื่อของกาแฟ รวมทั้งของที่ใช้แทนกาแฟที่มีกาแฟผสมอยู่ในอัตราส่วนเท่าใดก็ตาม
  • ชาใบ และชาผง

ต้องขออนุญาตนำเข้า ถ้านำเข้าจากทุกประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO หรือภาคีแกตต์ 1947 

  • เมล็ดกาแฟ ต้องขออนุญาตนำเข้า
  • ชา ต้องขออนุญาตนำเข้า และจะต้องซื้อชาที่ผลิตภายในประเทศจากองค์การคลังสินค้าชดเชยตามอัตราส่วนที่กำหนด คือ ชาใบ ร้อยละ 60 และชาผงร้อยละ 50 ของปริมาณที่ขออนุญาตนำเข้า

ต้องมีหนังสือรับรองต่างๆ ในการนำเข้าจากกลุ่มประเทศตามเงื่อนไข ดังนี้

  1. นำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO หรือภาคีแกตต์ 1947 : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งมาจากประเทศสมาชิก
    • หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO
  2. นำเข้าภายใต้ความตกลงไทย – ออสเตรเลีย (TAFTA) : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากออสเตรเลีย
    • มีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
    • หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามความตกลงฯ
  3. นำเข้าภายใต้ความตกลงไทย – นิวซีแลนด์ (TNZCEP) : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากนิวซีแลนด์
    • มีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
  4. นำเข้าภายใต้ความตกลงไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA) : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากญี่ปุ่น
    • มีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ออกโดยรัฐบาล/หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลญี่ปุ่น
    • มีหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน
  5. นำเข้าภายใต้ความตกลงอาเซียน – เกาหลี : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาธารณรัฐเกาหลี
    • มีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบฟอร์มเอเค (Form AK)
    • หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน
  6. นำเข้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน : สินค้าที่ผลิตและส่งมาจากประเทศภาคีอาเซียน
    • หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบฟอร์มดี (Form D)
    • หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน
    • ใบรับรอง/เอกสารหลักฐานแสดงว่าสินค้านั้นมีความปลอดภัยต่อชีวิตหรือสุขภาพมนุษย์ สัตว์ พืช
    • ใบรับรองว่าเป็นพืชที่ไม่ได้ตัดต่อสารพันธุกรรม
  7. นำเข้าภายใต้ความตกลงไทย-ชิลี : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากชิลี
    • หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form TC)
    • หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน
  8. ต้องรายงานการนำเข้า : ผู้ได้รับหนังสือรับรองแล้วต้องรายงานการนำเข้ากับกรมการค้าต่างประเทศภายใน 30 วัน

ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำเข้ากาแฟคลิก และเรื่องชา คลิก รูปประกอบโดย: Kelsen Fernandes

Was this article helpful?
YesNo