Home > News & Tips > Knowledge > ภาษีคาร์บอน 02 : ไทยกับทิศทางการบังคับใช้ Carbon Tax

ภาษีคาร์บอน 02 : ไทยกับทิศทางการบังคับใช้ Carbon Tax

เมษายน 8, 2023 | 9126 views

หลังจากที่ EU ประกาศบังคับใช้มาตรการ CBAM อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าซึ่งอยู่ในกลุ่มสินค้านำเข้าที่ EU กำหนด ต้องปรับตัวและปฏิบัติตามกฎนี้ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยที่มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยจะต้องเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมหลายด้านเกี่ยวกับภาษีคาร์บอนในบริบทอื่นๆ ที่จะตามมา 

แนวทางการบังคับใช้ภาษีคาร์บอนในประเทศไทย

  • ไทยประกาศในที่ประชุม COP 26 วางแผนลดก๊าซเรือนกระจกและก้าวเข้าสู่สถานะ Net zero greenhouse gas emissions ให้ได้ภายในปี 2608 และ Carbon natural (ความเป็นกลางทางคาร์บอน) ในปี 2593 
  • ตั้งเป้าลด CO₂ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก จาก Maximum 388 ล้านตัน/ปี ให้เหลือ 120 ล้านตัน/ปี มี Roadmap ของ Nationally Determined Contributions (NDC) ภายในปี 2573 จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40%
  • Carbon Tax เป็นภาษีที่เก็บจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยฐานภาษีคาร์บอนที่ใช้ในการจัดเก็บ มี 2 แบบ คือ จัดเก็บภาษีทางตรงจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้า และ จัดเก็บภาษีทางอ้อมตามการบริโภค
  • ในต่างประเทศการจัดเก็บภาษีคาร์บอนมีอัตราตั้งแต่ 0.08 – 137 ดอลลาร์/ตัน CO₂ ซึ่งมีทั้งการจัดเก็บภาษีทางตรงจากการผลิตและจัดเก็บภาษีจากการบริโภค
  • รัฐบาลกำลังศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีคาร์บอนในกลุ่มสินค้าและบริการที่มีการปล่อยก๊าซ CO₂ ในปริมาณสูง
  • กรมสรรพสามิตจะใช้แนวทางในลักษณะการจัดเก็บภาษีบนสินค้า สินค้าใดที่ปล่อยก๊าซ CO₂ ก็จัดเก็บภาษีสินค้านั้น 
  • การจัดเก็บภาษีคาร์บอนทางตรงจากการผลิตจะเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ปรับตัว กำหนดให้ ผู้ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและการประกอบกิจการพลังงาน จะต้องรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้แก่ภาครัฐ  
  • คาดว่าอัตราภาษีจะอ้างอิงตามราคาคาร์บอนเครดิตในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ซึ่งมีราคาเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 20 – 1,874.93 บาทต่อตัน CO₂
  • กรณีจัดเก็บภาษีคาร์บอนทางอ้อมจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ให้อ้างอิงกับปริมาณ CO₂ ที่ได้จากการเผาไหม้ได้ทันที โดยกำหนดอัตราภาษีจากเชื้อเพลิงตามกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวอย่างไร 

  • ตั้งแต่ปี 2566 สินค้าส่งออกไปยัง EU ใน 7 กลุ่มที่กำหนด จะต้องมีการรายงาน Carbon Footprint ตามมาตรการ CBAM และตอนนี้สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อนำมาตรการ CBAM มาใช้เช่นกัน
  • ภาคผู้ผลิตต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตให้มากที่สุด เพราะกิจการที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง หรือยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะมีต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นกว่าเดิม
  • ต้องวางแผนการลงทุนในระยะยาวเรื่องการประหยัดและปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานเป็นพลังงานสะอาด 
  • ในอนาคตตลาดโลกโดยเฉพาะที่ยุโรปและอเมริกา เริ่มพูดถึงการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนกลุ่มสินค้าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม/อาหาร 

ที่มา : กรมสรรพสามิต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/mzm0/~edisp/uatucm334189.pdf 
Climate Change Management and Coordination Division  https://climate.onep.go.th/th/ 

Cover Photo: Freepik

Was this article helpful?
YesNo