การร่วมกันแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนของทุกประเทศบนโลกกลายเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน และบทบาทของ ‘ภาษีคาร์บอน’ (Carbon Tax) เป็นประเด็นหนึ่งที่หลายธุรกิจต้องปรับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อ EU ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มงวด ส่งผลให้กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่ปล่อยก๊าซ CO₂ ในปริมาณสูงทุกประเทศจะต้องเข้าสู่มาตรการ CBAM
มาตรการ CBAM คืออะไร
- มาตรการ CBAM หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism เกิดจากที่ประชุมสมาชิกรัฐสภายุโรป (MEPs) บรรลุข้อตกลงมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน เรียกสั้นๆ ว่า CBAM ซึ่งเป็นมาตรการภายใต้นโยบาย the European Green deal
- มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
- 7 กลุ่มสินค้าที่อยู่ในมาตรการ CBAM คือ เหล็กและเหล็กกล้าอะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า ไฮโดรเจนและสินค้าปลายน้ำบางรายการ เช่น น็อต/สกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งเกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (indirect emissions) ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า
- สหภาพยุโรปมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิอย่างน้อยร้อยละ 55 ในปี 2573 และลดลงเหลือศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593
- สร้างความเท่าเทียมด้านต้นทุนราคาคาร์บอนระหว่างสินค้าภายใน EU กับสินค้าที่ผลิตภายนอก EU ผ่านการปรับราคาคาร์บอน เพื่อเร่งให้ประเทศคู่ค้าของ EU ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มงวด
- มาตรการ CBAM เป็นแรงกดดันทางอ้อมให้ผู้ผลิตสินค้าหันมาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอนลง หันมาลงทุนในพลังงานสะอาดมากขึ้น
ควรรู้เกี่ยวกับ CBAM หากเป็นคู่ค้ากับ EU
- ช่วงเปลี่ยนผ่านในปี 2566 – 2568 ผู้ประกอบการสินค้า 7 กลุ่ม ต้องรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่ผลิต ให้ EU ทราบ แต่ยังไม่มีการกำหนดค่าธรรมเนียม
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ผู้นำเข้าจะต้องซื้อใบรับรอง CBAM ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า และต้องจ่ายภาษีคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่ตนนำเข้า โดยจะขยายขอบเขตอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมที่บังคับใช้ในระบบ EU ETS เช่น สารอินทรีย์พื้นฐาน พลาสติกและโพลีเมอร์ แก้ว เซรามิค ยิปซัม กระดาษ เป็นต้น
- หากผู้นำเข้าไม่ยื่นหลักฐาน CBAM Certificates ภายในเวลาที่กำหนด จะต้องโดนโทษในอัตรา 3 เท่า
- ผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าไปยัง EU ต้องปรับกระบวนการผลิตและประเมิน Carbon Footprint โดยมีระบบวัดผลและรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซ CO₂ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตตามมาตรฐานที่กำหนด
Cover Photo: Freepik
Was this article helpful?
YesNo