Home > News & Tips > News update > AOT จัดประชุมสุดยอดผู้นำการบินโลก ผลักดันไทยเป็นฮับการบินในภูมิภาค

AOT จัดประชุมสุดยอดผู้นำการบินโลก ผลักดันไทยเป็นฮับการบินในภูมิภาค

พฤศจิกายน 19, 2024 | 104 views

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เตรียมพร้อมก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการบินและท่องเที่ยวในภูมิภาค ตั้งเป้าการเป็น 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก 

เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา AOT จัดการประชุมเชิงอภิปราย AOT Sister Airport CEO Forum 2024 ในหัวข้อ “Embracing the Next Chapter in Aviation Industry” (ก้าวสู่บทใหม่ของอุตสาหกรรมการบิน) นำเสนอความพร้อมของท่าอากาศยานไทยซึ่งเป็นการประชุมภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (Sister Airport Agreement: SAA) รวม 18 แห่ง กับ AOT ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคต รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินด้วยความยั่งยืน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาท่าอากาศยานไทย สู่เป้าหมายศูนย์กลางการบินภูมิภาคและติด 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เร่งรัดแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินรองรับปริมาณผู้โดยสารให้ได้ถึง 150 ล้านคน/ปี  
  • ปัจจุบันได้เปิดใช้ทางวิ่งเส้นที่ 3 เพิ่มศักยภาพรองรับเที่ยวบินจาก 68 เที่ยวบิน/ชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบิน/ชั่วโมง
  • โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออกของอาคารผู้โดยสาร (East Expansion) รองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นเป็น 80 ล้านคน/ปี 
  • โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารด้านทิศใต้ (South Terminal) รองรับผู้โดยสารเพิ่มได้อีก 70 ล้านคน/ปี 
  • ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4 เพิ่มศักยภาพรองรับเที่ยวบินได้ถึง 120 เที่ยวบิน/ชั่วโมง
  • ท่าอากาศยานดอนเมือง เพิ่มปริมาณรองรับผู้โดยสารเป็น 40 ล้านคน/ปี และรองรับได้สูงสุดที่ 50 ล้านคน/ปี เพื่อเป็นสนามบินหลักรองรับเที่ยวบินภายในประเทศ เที่ยวบินระหว่างประเทศในภูมิภาค 
  • ท่าอากาศยานดอนเมือง ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ, โครงการก่อสร้างอาคาร Junction Building เป็นพื้นที่ศูนย์กลางเชื่อมต่อกับระบบรถไฟสายสีแดงโดยตรง พื้นที่จอดรถยนต์ สันทนาการ พาณิชย์อื่นๆ 
  • โครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) ควบคู่กับศึกษาแผนก่อสร้างท่าอากาศยานใหม่ (ท่าอากาศยานอันดามัน ท่าอากาศยานล้านนา) ยกระดับศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการบินของไทย และแผนศึกษาโครงการพัฒนา Seaplane & Ferry Terminal พัฒนาพื้นที่จอดอากาศยานขึ้น-ลงในทะเลรองรับผู้โดยสารชั้นสูง

ด้านความยั่งยืน (Green Airport) 

  • ท่าอากาศยานสากลชั้นนำเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งแรกในไทยที่ใช้พลังงานสะอาดมาผลิตพลังงานไฟฟ้า 37.81 เมกะวัตต์ ลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ได้ถึง 555,686.271 tCO2e ตลอดอายุโครงการ 20 ปี ลดต้นทุนด้านพลังงานได้มากถึง 25%
  • นโยบายเปลี่ยนรถในสนามบินทั้งหมดเป็นระบบยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมให้ใช้รถแท็กซี่ไฟฟ้ามาให้บริการผู้โดยสาร ติดตั้งสถานี EV Charge  สำหรับรถโดยสารสาธารณะไฟฟ้า 
  • ให้ความสำคัญด้านการให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) ครอบคลุมทั้งด้านการลงทุนปิโตรเลียมและการวิจัยผลิต บนเป้าหมายการให้บริการน้ำมัน SAF สำหรับอากาศยานที่เข้าและออกประเทศไทยภายใน 3 ปี การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการจําหน่าย SAF ของภูมิภาค

ที่มา : บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) – ห้องข่าว
รูป : Freepik

Was this article helpful?
YesNo