กฎหมายหลักเกี่ยวกับสุราของประเทศไทยคือ ‘พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493’ ซึ่งครอบคลุมสุราทุกประเภทในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้า ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ส่งออก ที่จะต้องยึดตามกฎหมายฉบับนี้ และมี 2 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสุราจากต่างประเทศ นั่นก็คือ กรมสรรพสามิตที่ดูแลเกี่ยวกับภาษีสุราในทางกฎหมาย และกรมศุลกากรที่รับผิดชอบกฎระเบียบในด้านการนำเข้า
วันนี้เรานำขั้นตอนและข้อควรรู้เบื้องต้นของการนำเข้าสุรามาฝากกัน
ขั้นตอนการนำเข้าสุราจากต่างประเทศ
- ติดต่อกรมสรรพสามิต เพื่อ
- ขออนุญาตนำสุราเข้าในราชอาณาจักร ต้องมี
– หลักฐานการเป็นผู้ได้รับอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1
– สำเนาใบแสดงรายการและราคาสินค้า
– ตัวอย่างฉลากปิดภาชนะสุรา
- ขออนุมัติใช้ฉลากบรรจุสุรา
- ขออนุญาตนำแสตมป์ไปติดภาชนะ ณ โรงงานสุราในต่างประเทศ
- ขออนุญาตซื้อแสตมป์ไปปิด ณ ด่านศุลกากร
- ขอใบอนุญาตขนสุรา
2. ติดต่อกรมศุลกากร เพื่อ
- ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร (Paperless)
- ทำพิธีการนำเข้าทางศุลกากร
- ยื่นชำระภาษีกับกรมศุลกากร พร้อมชำระอากรขาเข้า โดยนำหลักฐานประกอบมายื่นที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เพื่อให้ตรวจสอบ ทั้งนี้ต้องกรอกแบบแจ้งขอปิดแสตมป์สุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ปฏิบัติพิธีการตรวจปล่อยสินค้าตั้งอยู่จะจ่ายแสตมป์ให้ผู้นำเข้านำแสตมป์ไปปิดสุราภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่
สิ่งสำคัญควรรู้ในการนำเข้าสุรา
- ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายสุราเกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท)
- ต้องนำเข้าทางด่านศุลกากรที่อธิบดีกำหนด
- ต้องลงทะเบียน Paperless
- ต้องปฏิบัติขั้นตอนพิธีการนำเข้า
- ปิดและขีดฆ่าแสตมป์
- จัดทำรายงานภาษีซื้อ
- ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่มา: คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง
สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
รูปโดย: Hermes Rivera
Was this article helpful?
YesNo