กการนำของเข้าทางเรือเป็นวิธีการที่นิยมมากในการนำเข้าสินค้า เหมาะสำหรับสินค้าหลากหลายประเภทที่ต้องเดินทางมาจากหลากหลายทวีปที่อยู่ห่างไกลประเทศไทย
ขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออกผลิตภัณฑ์ในระบบ e – Import
ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร
ผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติ พิธีการศุลกากร เพื่อบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
ข้อควรรู้
ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนหากของมีราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัย ไม่เกิน 1,500 บาท และไม่เป็นของต้องห้าม หรือต้องกำกัดตามกฎหมาย
2
ขั้นตอนการปฏิบัติการนำเข้าสินค้าทางเรือ
การยื่นแบบ กศก. 99/1
ยื่นแบบ กศก. 99/1 ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการนำเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภท ยกเว้นสินค้าที่กรมศุลกากรกำหนดให้ใช้ ใบขนฯ ประเภทอื่น
3
ชำระภาษี (ถ้ามี)
- การชำระและวางเงินประกันค่าภาษีอากร สามารถเลือกชำระและวางเงินประกันที่สำนักงานศุลกากรหรือผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ได้
- การวางค้ำประกันค่าภาษีอากร สามารถเลือกวางค้ำประกันที่สำนักงานศุลกากรหรือผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Guarantee) ได้
4
การตรวจปล่อยของออกไปจากอารักขาศุลกากร
1. การตรวจปล่อยสินค้าจะจัดกลุ่มใบขนสินค้าเป็น 2 กลุ่ม
คือ ให้เปิดตรวจ (Red Line) หรือให้ยกเว้นการตรวจ (Green Line) เมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วจะกำหนดเลขที่ใบขนสิการตรวจปล่อยสินค้าจะจัดกลุ่มใบขนสินค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ ให้เปิดตรวจ (Red Line) หรือให้ยกเว้นการตรวจ (Green Line) เมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วจะกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าและสั่งการตรวจให้อัตโนมัติ พร้อมแจ้งไปยังผู้ประกอบการทราบผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์และแจ้งโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือให้ทราบถึงผลการสั่งการตรวจจากศุลกากร
ข้อควรรู้
การตรวจปล่อยสินค้าขาเข้า เป็นการตรวจ ณ ท่าที่ระบุในบัญชีสินค้าว่ามีชื่อส่งของถึง แต่ผู้ประกอบการสามารถแจ้งความประสงค์ขอขนย้ายสินค้าไปตรวจปล่อยนอกเขตท่าที่นำเข้าได้ ต้องแจ้งล่วงหน้าในขั้นตอนจัดเตรียมใบขนสินค้าก่อนส่งมายังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
2. ผู้นำของเข้านำใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จเสียภาษีอากร
เอกสาร Deliver Order (D/O) ไปดำเนินการตรวจปล่อยสินค้าในท่าเรือและขนถ่ายสินค้านำเข้ามาที่โกดังหรือโรงงานหรือบริษัท
ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลาไม่น้อย 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้
- IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM
- IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM
- IMPORT/EXPORT INVOICE LIST
เรียนรู้เพิ่มเติม
รายชื่อตัวแทนออกของ
ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อตัวแทนออกของเพื่อจัดจ้างสำหรับดำเนินการ