รู้จัก Free Trade Area: FTA (Free Trade Area) หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร
นโยบายการค้าเสรี
- ผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำ เลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้าสูง
- ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
- ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
- เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ
- ไม่มีการควบคุมการนำเข้าหรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมหรือความมั่นคงของประเทศ
ประโยชน์ของการทำ FTA
- ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่ไม่ใช่ภาษี
- เพิ่มมูลค่าในทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
- เพิ่มโอกาสการส่งออก ได้ตลาดใหม่ และขยายตลาดเดิม
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
- สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ การเมือง
- ให้ความร่วมมือทางด้านศุลกากร แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลการลักลอบหลีกเลี่ยงและสินค้าอันตราย/ละเมิดลิขสิทธิ์
- ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และเทคโนโลยีการผลิต
- สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ปี 2567 ไทยมี FTA จำนวน 15 ฉบับ กับ 19 ประเทศ โดยแบ่งเป็น
- ระดับทวิภาคี ไทย-ออสเตรเลีย / ไทย-นิวซีแลนด์ / ไทย-ญี่ปุ่น / ไทย-อินเดีย / ไทย-เปรู / ไทย-ชิลี / ไทย-ศรีลังกา
- ระดับภูมิภาค AEC / ACFTA / AJCEP / AKFTA / AANZFTA / AIFTA / AHKFTA / RCEP
ที่มา : กรมศุลกากร, กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
รูป : Freepik
Was this article helpful?
YesNo