ไวน์ผลไม้ส่วนใหญ่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อยู่ในปริมาณไม่เกิน 15% ของปริมาณไวน์ 1 ขวด ในทางกฎหมายแล้วจัดอยู่ในกลุ่มสุราประเภท “สุราแช่” ไวน์ผลไม้จึงมีข้อกฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องแบบเดียวกับผลิตภัณฑ์สุราประเภทอื่นๆ ในพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 และผู้นำเข้าทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งจะมีหน่วยงานหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องก็คือ กรมสรรพสามิต (เกี่ยวกับภาษีสุรา) และกรมศุลกากร (เกี่ยวกับการนำเข้า)
สิ่งที่ผู้ประกอบการนำเข้าไวน์ต้องมี
- เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำสุราจากกรมสรรพสามิต
- มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (ในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล)
- จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่มีรายได้จากการขายไวน์ผลไม้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้เช่นกัน)
- จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขั้นตอนการนำเข้าไวน์จากต่างประเทศ
- ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออก ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร กับกรมศุลกากร
- ขอใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 ขอใบอนุญาตนำเข้าสุราประเภทไวน์ กับกรมสรรพสามิต
- ยื่นแบบรายการภาษีสุรา (แบบ สบ.103)
- ชำระภาษีสรรพสามิตก่อนขนไวน์ผลไม้ผ่านด่านศุลกากร
- แจ้งขอปิดและขีดฆ่าแสตมป์สุรา
- ยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามพิธีการนำเข้าทางศุลกากร
สิ่งสำคัญควรรู้ในการนำเข้าไวน์
- ต้องนำเข้าทางด่านศุลกากรที่กำหนด
- ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการนำเข้า
- ปิดและขีดฆ่าแสตมป์
- จัดทำรายงานภาษีซื้อ
- ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ฉลากต้องระบุชนิดสุรา (ไวน์ผลไม้) ชื่อสินค้า ชื่อผู้ได้รับอนุญาต ที่ตั้งสถานที่ผลิต ส่วนประกอบหลักของไวน์ แรงแอลกอฮอล์ ขนาดบรรจุ วันเดือนปีที่บรรจุ และคำเตือนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ที่มา : คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง
สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
Was this article helpful?
YesNo