หลายคนอาจสงสัยว่าในการนำเข้าหรือส่งออกสารกาเฟอีน (Caffeine) ทำไมจะต้องขอใบอนุญาตจากกรมการค้าต่างประเทศ รวมทั้งต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอีกด้วย นั่นเป็นเพราะสารกาเฟอีน สามารถนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายเพื่อเป็นส่วนผสมของการผลิตยาเสพติดได้นั่นเอง
ตามปกติแล้วการใช้สารกาเฟอีนที่ถูกต้องจะอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิตยาและอาหาร เช่น เป็นส่วนผสมในยาแก้ปวด ยารักษาอาการปวดไมเกรน ส่วนผสมในน้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และปรุงแต่งรสในขนมบางชนิด รวมทั้งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษพิมพ์เขียว ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความสำคัญอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและยาอย่างเด่นชัด
ขอบเขตการควบคุม
- สารกาเฟอีน (Caffeine) ชื่อเรียกอื่น โคเฟอีน (Coffeine), เมททิลทีโอโบรมีน (Methyltheobromine)
- ชื่อทางเคมี 3, 7-Dihydro-1,3,7-trimethyl-1H-purine-2, 6-dione;1,3,7-trimethylxanthine; 1,3,7-trimethyl-2, 6-di-oxopurine; caffeine; thein; guaranine; methyltheobromine;
- สูตรทางเคมี C8H10N4O2 และเกลือของสารดังกล่าวตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 2939.30.00 และ 3003.49.00
- ยกเว้นอนุพันธ์สารกาเฟอีนและยาสำเร็จรูปที่มีสารกาเฟอีนผสมอยู่ซึ่งมีใบอนุญาตนำเข้าและขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ระเบียบการนำเข้า
- ยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้า พร้อมหนังสือรับรองการนำหรือสั่งสารกาเฟอีนเข้ามาในราชอาณาจักรจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และบัญชีราคาสินค้า (Invoice) หรือใบเสนอราคาสินค้าล่วงหน้า (Proforma Invoice) หรือเอกสารทางการค้าอื่นที่แสดงถึงรายละเอียดการซื้อขายสินค้าดังกล่าว
- จะอนุญาตให้นำเข้า – ส่งออก เฉพาะกรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี
ที่มา : กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดูเพิ่มเติมที่นี่
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ดูเพิ่มเติมที่นี่
รูปโดย: Jorge Franganillo
Was this article helpful?
YesNo