Home > News & Tips > Knowledge > น้ำตาล สินค้าที่ต้องขออนุญาตก่อนนำเข้า 

น้ำตาล สินค้าที่ต้องขออนุญาตก่อนนำเข้า 

มิถุนายน 1, 2023 | 2275 views

ในแวดวงอุตสาหกรรม MICE ไทยที่ผ่านมา องค์กร International Society of Sugar Cane Technologists (ISSCT) เคยเลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลนานาชาติ ครั้งที่ 29  (XXIX International Society of Sugar Cane Technologists Congress) ในปี 2559 ซึ่งครั้งนั้นเป็นงานประชุมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอ้อยและน้ำตาลจากนานาชาติ มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก 

น้ำตาลจึงเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมสำคัญใน Targeted S Curve ของไทย ทั้งในส่วนภาคอุตสาหกรรมอาหารและภาคการเกษตร และหลายคนคงยังไม่ทราบว่า “น้ำตาล” เป็นหนึ่งในสินค้าห้ามนำเข้า และมีมาตรการ นำเข้า-ส่งออก-นำผ่าน ที่ต้องได้รับอนุญาตและต้องมีใบรับรองตามข้อตกลงและมาตรการการค้าของกระทรวงพาณิชย์ 

ขอบเขตการควบคุม : น้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือหัวบีต และซูโครสที่บริสุทธิ์ทางเคมีในลักษณะของแข็ง

เงื่อนไขการนำเข้า 

  1. ต้องขออนุญาตนำเข้า หากนำเข้าจากทุกประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO หรือภาคีแกตต์ 1947  โดยกระทรวงพาณิชย์จะพิจารณาตามสถานการณ์การผลิตและการค้า
  2. ต้องมีหนังสือรับรองต่างๆ ในการนำเข้าจากกลุ่มประเทศตามเงื่อนไข ดังนี้
  • นำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO หรือภาคีแกตต์ 1947 : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งมาจากประเทศสมาชิก ต้องมีหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าหรือชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้า 
  • นำเข้าภายใต้ความตกลงไทย – ออสเตรเลีย (TAFTA) : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากออสเตรเลีย ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามความตกลงฯ ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้า ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบนำเข้า 
  • นำเข้าภายใต้ความตกลงไทย – นิวซีแลนด์ (TNZCEP) : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากนิวซีแลนด์ ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้า ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบนำเข้า และไม่มีการกำหนดปริมาณการนำเข้า 
  • นำเข้าภายใต้ความตกลงไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA) : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากญี่ปุ่น ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าออกโดยรัฐบาล/หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมด/บางส่วน ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรการอื่นที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี 
  • นำเข้าภายใต้ความตกลงอาเซียน – เกาหลี : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประเทศสมาชิกฯ  ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form AK หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมด/บางส่วน ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรการอื่นที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี
  • นำเข้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area (AFTA)) : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประกาศสมาชิกภาคีอาเซียน ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form D จากประเทศภาคีอาเซียนแสดงต่อกรมศุลกากร 
  • นำเข้าภายใต้ความตกลงไทย-ชิลี : สินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากชิลี ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form TC ออกโดยรัฐบาล/หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมด/บางส่วน ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรการอื่นที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี 
  • ผู้ได้รับหนังสือรับรองแล้วต้องรายงานการนำเข้ากับกรมการค้าต่างประเทศภายใน 30 วัน 

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
รูปโดย: v.ivash

Was this article helpful?
YesNo