งานแสดงสินค้าในแวดวงเภสัชกรรมและการแพทย์ เป็นนวัตกรรมที่ได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก เพราะเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพโดยตรง แต่มียา เภสัชเคมีภัณฑ์ เกลือของเภสัชเคมีภัณฑ์ และเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป อยู่กลุ่มหนึ่ง ที่ผู้นำเข้ามาในไทยจะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมการค้าต่างประเทศ ตามกฎระเบียบสินค้าที่มีมาตรการ นำเข้า-ส่งออก-นำผ่าน ก่อนที่จะนำเข้าได้ มาดูว่ามีชนิดใดบ้าง
ขอบเขตในการควบคุมตามชนิดและกลุ่ม ดังนี้
- อริสโตโลเซีย (Aristolochia spp.)
- คลอแรมฟีนิคอล (Chloramphenicol)
- คลอโรฟอร์ม (Chloroform)
- คลอโปรมาซีน (Chlorpromazine)
- คอลชิซีน (Colchicin)
- เดปโซน (Dapsone)
- ไนโตรฟูแรน (Nitrofurans)
- ไดเอทิลสติลเบสโทรล (Diethylstilbestrol)
- ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides)
- ฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)
- ไกลโคเปปไตต์ (Glycopeptides)
- ไดมีไตรดาโซล (Dimetridazole)
- เมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
- โรนิดาโซล (Ronidazole)
- อิโพรนิดาโซล (Ipronidazole)
- กลุ่มไนโตรอิมิดาโซล (Nitroimidazoles)
ระเบียบและหลักเกณฑ์การนำเข้า : ต้องขออนุญาตนำเข้า โดยจะอนุญาตให้นำเข้าได้ในกรณีต่อไปนี้
1. การอนุญาต
- ผู้นำเข้าต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
- ประเภทคลอโรฟอร์ม (Chloroform) ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และนำไปแสดงต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะนำเข้าได้
2. การครอบครอง
- การใช้ การจำหน่าย จ่าย โอน ตามกลุ่มและชนิดที่กำหนดยกเว้นคลอโรฟอร์ม (Chloroform) ให้ผู้ได้รับอนุญาตนำเข้า รายงานปริมาณสินค้าในครอบครอง ปริมาณการใช้หรือจำหน่าย จ่าย โอน ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทราบ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้
- สำหรับคลอโรฟอร์ม (Chloroform) ให้รายงานปริมาณสินค้าที่อยู่ในครอบครอง ปริมาณการใช้ หรือจำหน่าย จ่าย โอน ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมการค้าต่างประเทศ : https://www.dft.go.th/th-th/DFT-Service/Data-Service-Information/ProductMeasure-Import-Export/Detail-ProductMeasure-Import-Export/ArticleId/1958/2545-005-023
Was this article helpful?
YesNo