Home > News & Tips > Customs > 5 ท่าเรือสำคัญของไทย หลอดเลือดใหญ่แห่งโลจิสติกส์

5 ท่าเรือสำคัญของไทย หลอดเลือดใหญ่แห่งโลจิสติกส์

สิงหาคม 30, 2024 | 2688 views

การขนส่งสินค้าทางเรือ จัดว่าเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในอุตสาหกรรมการค้าโลก เป็นการใช้ระบบขนส่งที่สามารถนำสินค้าเข้า-ออกได้เป็นจำนวนมากในครั้งเดียว แน่นอนว่าใช้เวลานานกว่าขนส่งทางอากาศมากแต่ต้นทุนก็ต่างกันมากเช่นกัน 

ทั้งนี้การประหยัดต้นทุนก็เท่ากับเป็นผลกำไรที่ผู้ประกอบการจะได้รับแบบเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ในปัจจุบันการเลือกใช้ระบบขนส่งทางเรือจึงยังเป็นที่นิยมอยู่อย่างแพร่หลายในแวดวงการค้าระหว่างประเทศ 

มาดูว่าท่าเรือสำคัญในไทย 5 แห่ง ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) (Port Authority of Thailand (PAT)) มีที่ไหน และมีศักยภาพอะไรบ้าง

1. ท่าเรือกรุงเทพหรือท่าเรือคลองเตย 

  • เป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์เต็มรูปแบบ ให้บริการเกี่ยวกับสินค้าทั่วไป ตู้สินค้า และสินค้าจากเรือ Ro/Ro บริการเรือชายฝั่ง และเรือลำเลียงภายในประเทศจอดขนถ่ายและขนส่งสินค้า
  • บริการโรงพักสินค้านอกเขตรั้วศุลกากร รับฝากเก็บสินค้าทั้งในโรงพักสินค้าและกลางแจ้ง
  • บริการขนส่งตู้สินค้าระหว่างท่าเรือกรุงเทพ–ท่าเรือแหลมฉบัง 
  • พื้นที่หลังท่าสำหรับวางสินค้า 17,000 ตร.ม. รองรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 ตัน/ตร.ม. 
  • โรงพักสินค้า 1 และ 2 มีพื้นที่ภายในรวม 12,000 ตร.ม. รองรับน้ำหนักสินค้าได้โดยเฉลี่ย 2.7 ตัน/ตร.ม.
  • ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว/ท่าเทียบเรือ OB เป็นท่าเทียบเรือเฉพาะสำหรับเรือท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ 

2. ท่าเรือแหลมฉบัง

  • มีพื้นที่ขนาด 6,340 ไร่ เป็นท่าเรือน้ำลึกหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 
  • ท่าเทียบเรือสินค้าตู้ 11 ท่าเรือ มีขีดความสามารถในการรับตู้สินค้าถึง 10 ล้านตู้ต่อปี
  • เป็นอู่ต่อเรือ ซ่อมเรือขนาดไม่เกิน 140,000 dwt ความยาวไม่เกิน 282 เมตร น้ำหนักตัวเรือไม่เกิน 40,000 ตัน

3. ท่าเรือระนอง 

  • ประตูการค้าทางฝั่งทะเลอันดามัน ขนส่งสินค้า/ตู้สินค้าเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับประเทศในเอเชียใต้ แอฟริกา ยุโรป และกลุ่มสมาชิกประเทศต่างๆ 
  • ท่าเทียบเรือตู้สินค้า รองรับเรือสินค้าไม่เกิน 12,000 เดดเวทตัน จอดเทียบท่าได้ครั้งละ 1 ลำ 
  • ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ รองรับเรือสินค้าไม่เกิน 500 ตันกรอส  จอดเทียบท่าได้พร้อมกัน 2 ลำ
  • โรงพักสินค้า 1 หลัง พื้นที่ 1,500 ตร.ม. ลานวางสินค้าทั่วไป 7,200 ตร.ม. ลานวางตู้สินค้า 11,000 ตร.ม. และถังบรรจุของเหลว (คลังทัณฑ์บน)

4. ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน

  • ประตูการค้าระหว่างไทยกับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง มีประเทศสมาชิก ไทย สป.จีน สหภาพเมียนมา สปป.ลาว) 
  • ท่าเทียบเรือทางลาดด้านทิศเหนือ 9,600 ตร.ม.
  • ท่าเทียบเรือทางลาดด้านทิศใต้ 9,600 ตร.ม.
  • ท่าเทียบเรือแนวดิ่ง 20,000 ตร.ม.
  • แอ่งจอดเรือ ขนาด 200 x 800 เมตร

5. ท่าเรือเชียงของ

  • ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ท่าเทียบเรือขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 180 เมตร 
  • มีหน่วยงานให้บริการในพื้นที่เดียวกัน (One Stop Service) คือ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมขนส่งทางน้ำพาณิชยนาวี ด่านตรวจ คนเข้าเมือง ด่านสาธารณสุข ด่านกักสัตว์และพืช เป็นต้น เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 
  • ให้บริการเรือจอดเทียบท่า 80–150 ตัน หรือพร้อมกัน 3–5 ลำ
  • ให้บริการพื้นที่จอดรถบรรทุกสินค้า/รถบรรทุก 10 ล้อ จอดได้พร้อมกัน 5–10 คัน

ที่มา : การท่าเรือแห่งประเทศไทย
รูป: Tawatchai07

Was this article helpful?
YesNo